เราคือทีมผู้เชี่ยวชาญในการรับซื้อ เชี่ยวชาญในการทำงานด้าน รับซื้อ UPS เสีย , รับซื้อยูพีเอสเสีย , รับซื้อเครื่องสำรองไฟเสีย มีการบริการรับถึงบ้าน ให้ราคายุติธรรม รับทุกสภาพ

ไม่ว่าคุณจะใช้งานส่วนตัวที่บ้าน กี่เครื่อง หรือเครื่องเดียว เราก็ รับซื้อยูพีเอส ถึงบ้านคุณ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เรายินดีบริการรับซื้อ UPS

…หรือหากคุณเป็นบริษัทที่ต้องการ ขาย UPS :

จะสิบเครื่องร้อยเครื่อง สภาพไหน เราก็ รับซื้อ UPS ของคุณ เรามีทีมทำเสนอราคา ออกคู่เทียบให้คุณ รับถึงที่ สินค้ารับแบบมี แวทได้ รวดเร็วทันใจ ในการรับซื้อ UPS

ขั้นตอนในการซื้อขายกับเรา ง่าย ๆ เพียงคุณแอดไลน์หาเรา @buyit ส่งรายละเอียดสเปคมาให้เราดู แบบละเอียด เราสามารถ ตีราคารับซื้อ UPS ได้เลย เราตีราคารับซื้อเครื่องสำรองไฟ ให้ราคาดี เป็นร้านที่รับซื้อยูพีเอสที่ราคาดีที่สุดแล้ว

รับซื้อ UPS เสีย , รับซื้อยูพีเอสเสีย , รับซื้อเครื่องสำรองไฟเสีย

ความหมายของ UPS

UPS เป็นคำย่อมาจากคำว่า Uninterruptible Power Supply หรือ “เครื่องสำรองไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ” ถ้าแปลตรงตัว หมายถึง แหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่อง
UPS ก็คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ได้อย่างต่อเนื่องแม้ในเวลาที่เกิดไฟดับหรือเกิดปัญหาแรงดันไฟฟ้าผันผวนผิดปกติ โดย UPS จะทำการปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์

หลักการทำงานทั่วไปของ UPS

เมื่อ UPS รับพลังงานไฟฟ้าเข้ามา ไม่ว่าคุณภาพไฟฟ้าจะเป็นอย่างไรก็จะสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เป็นปกติ รวมถึงทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า หลักการของ UPS ก็คือ ใช้วิธีการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ส่วนหนึ่ง และในกรณีที่เกิดปัญหาทางไฟฟ้า (เช่น ไฟดับ หรือคุณภาพไฟฟ้าผิดปกติ เป็นต้น) อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่รับมาได้ UPS ก็จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแบตเตอรี่ ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แล้วจึงจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าตามปกติ

ส่วนประกอบสำคัญของ UPS

UPS ประกอบไปด้วย

  1. เครื่องประจุแบตเตอรี่ (Charger) หรือ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC (Rectifier) ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟ แปลงเป็นกระแสไฟฟ้า DC จากนั้นประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่ 
  2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้า DC จากเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC หรือแบตเตอรี่ และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า AC สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์
  3. แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยจะจ่ายกระแสไฟฟ้า DC ให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าในกรณีที่ไม่สามารถรับกระแสไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟได้
  4. ระบบปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (Stabilizer) ทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่และสม่ำเสมออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า 

ประโยชน์ของ UPS

UPS สามารถช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ) อันเนื่องมาจากกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติได้ (เช่น จากความบกพร่องของระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าเอง หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ – ฝนตกฟ้าคะนอง พายุฝน หรือจากการรบกวนของอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารที่ใช้กระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ) ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในแต่ละประเภท อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้ โดย UPS จะทำหน้าที่ป้องกัน ดังนี้

  1. จ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เมื่อเกิดไฟดับหรือไฟตก เพื่อให้มีเวลาสำหรับการ Save ข้อมูล และไม่ทำให้ floppy disk และ hard disk เสีย 
  2. ปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า เช่น ไฟตก, ไฟดับ, ไฟกระชาก และไฟเกิน เป็นต้น 
  3. ป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่สามารถสร้างความเสียหายต่อข้อมูลและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ 

การเลือกใช้ UPS

1. นำ UPS ไปใช้ในการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใด มีความไวต่อคุณภาพ
ของกระแสไฟฟ้า มากน้อยขนาดไหน และมีความสำคัญเพียงไร ?อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทที่มีความไวต่อคุณภาพของกระแสไฟฟ้า หรือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญมาก เช่น เครื่องมือวัด, เครื่องมือแพทย์, Computer Server เป็นต้น ควรเลือกใช้ UPS ชนิด True on line UPS อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทที่ไม่มีความไวต่อคุณภาพของกระแสไฟฟ้า หรือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญไม่มาก เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานภายในบ้าน หรือสำนักงาน ควรเลือกใช้ UPS ชนิด Online Protection UPS หรือ Line Interactive UPS with Stabilizer

2. คุณภาพของกระแสไฟฟ้าในสถานที่ที่จะนำ UPS ไปใช้งานมีลักษณะเป็นอย่างไร?

หากสถานที่ที่จะนำ UPS ไปใช้งานมีปัญหาเรื่องความแปรปรวนของกระแสไฟฟ้ามากๆ ควรเลือกใช้ UPS ชนิด True on line UPS หากสถานที่ที่จะนำ UPS ไปใช้งานไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพของกระแสไฟฟ้ามากนัก ควรเลือกใช้ UPS ชนิด Online Protection UPS หรือ Line Interactive UPS with Stabilizer


3. ขนาดกำลังไฟฟ้า (VA) ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทดังกล่าวใช้เป็นเท่าไร?
ขนาดกำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ จะต้องไม่สูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ UPS สามารถจ่ายได้ เช่น คอมพิวเตอร์ และจอสี 17 นิ้ว ใช้กำลังไฟประมาณ 300 VA ดังนั้น ควรเลือกใช้ UPS ขนาดกำลังไฟ 300 VA ขึ้นไป

4. ลักษณะการติดตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นอย่างไร?
หากทำการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้เคียงกันในพื้นที่ไม่กว้างนัก มีพื้นที่จำกัด ควรเลือกใช้ UPS ขนาดใหญ่เพื่อที่จะสามารถต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้พร้อมกันหลายๆ เครื่อง เพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่ และ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน หากทำการติดตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้าห่างไกลกัน ควรเลือกใช้ UPS ขนาดเล็ก ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าแบบ หนึ่งต่อหนึ่ง คือ นำอุปกรณ์ไฟฟ้าหนึ่งเครื่องต่อเข้ากับ UPS ขนาดเล็กหนึ่งเครื่อง

5. ต้องการให้ UPS จ่ายพลังงานสำรองได้นานเท่าไร? (Backup Time)
โดยทั่วไป Backup Time จะมีความสัมพันธ์กับขนาดกำลังไฟฟ้าของ UPS และขนาดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น UPS ขนาด 350 – 500 VA ซึ่งใช้แบตเตอรี่ 7 Ah จะสามารถ จ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ และจอสี 15 นิ้ว 1 จอ ได้นาน 15 – 30 นาที และหากเป็น UPS ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิด High-Rate จะสามารถสำรองไฟฟ้าได้ 25 – 40 นาทีเลยทีเดียว (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน)

6. มีซอฟต์แวร์พิเศษหรือไม่? 
ซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับ UPS นี้มีไว้เพื่อตรวจสอบสภาวะทางไฟฟ้าและการทำงานของ UPS โดยการสื่อสารระหว่าง UPS กับคอมพิวเตอร์ จะมีสายข้อมูลเชื่อมต่อกัน โดยทั่วไป ผู้ใช้ มักไม่ค่อยใส่ใจ กับเรื่องซอฟต์แวร์พิเศษนี้ เพราะอาจจะไม่ทราบถึงประโยชน์ ดังนั้น จะขอยกตัวอย่าง เช่น กรณีเกิดไฟดับเป็นระยะเวลานานจนพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ของ UPS หมด โดยที่ไม่สามารถ Shutdown คอมพิวเตอร์ได้ ถ้ามีซอฟต์แวร์พิเศษนี้จะช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญไว้ (Auto Save) และทำการ Shutdown คอมพิวเตอร์ของคุณให้ก่อนที่แบตเตอรี่ของ UPS จะหมดลง

7. ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิตและการบริการหลังการขาย 
 ความมุ่งมั่นและระยะเวลาในการทำธุรกิจ จะเป็นเครื่องบ่งบอก ถึงความจริงจัง ในการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี บริษัทที่มีความตั้งใจอันแน่วแน่และมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจใดๆ ย่อมจะต้องนำเสนอแต่สินค้าที่มีคุณภาพดี และให้บริการที่มีมาตรฐาน ตลอดจนมีการพัฒนา ด้านคุณภาพสินค้า, ระบบการผลิต และการบริการอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า

8. มาตรฐานสากลที่บริษัทผู้ผลิตได้รับและหน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐานสากลนั้นๆ
เนื่องจากการได้รับมาตรฐานสากลไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะได้มาโดยง่าย โดยเฉพาะสำหรับ ผู้ผลิตภายในประเทศที่สามารถทำให้หน่วยงานที่ให้การรับรอง มาตรฐาน ในระดับนานาชาติ ยอมรับได้นั้น ผู้ผลิตจะต้องพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองเป็นอย่างมาก เพื่อให้มีมาตรฐาน เท่าเทียมกับบริษัทชั้นนำของโลก

9. เงื่อนไขการรับประกัน 
เรื่อง ของเงื่อนไขการรับประกัน มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่นๆ เพราะนั่นหมายถึง ผู้ผลิตได้ให้ความคุ้มครอง และดูแลผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของตนมากน้อยเพียงใด หากลองพิจารณา UPS ที่มีจำหน่ายในตลาด IT แต่ละยี่ห้อ จะมีระยะเวลารับประกันไม่เท่ากัน 1 ปี, 2 ปี หรือมากกว่านั้น ผู้ใช้สามารถนำ UPS ส่งซ่อมได้เวลาที่เกิดปัญหาขึ้น

10. ศูนย์บริการระดับมาตรฐาน
ในการเลือกซื้อ UPS นั้น ปัจจัยในด้านศูนย์บริการหลังการขาย ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะผู้ใช้จะสามารถวางใจได้ว่า UPS จะได้รับการบำรุงรักษา หรือแก้ปัญหาด้วยช่างผู้ชำนาญ พร้อมด้วยอุปกรณ์อะไหล่ที่ได้มาตรฐานจากบริษัทผู้ผลิต 

รับซื้อ UPS เสีย , รับซื้อยูพีเอสเสีย , รับซื้อเครื่องสำรองไฟเสีย

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *